สรุปรายการลดหย่อนภาษี ปี 2566 จากแสงทอง โบรคเกอร์
สรุปรายการลดหย่อยภาษีสำหรับปี 2566 แสงทอง โบรคเกอร์ ช่วยเอาข้อมูลมาให้เบื้องต้นแล้ว
สรุปรายการลดหย่อนภาษี ปี 2566
1.ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้ (ได้สูงสุด 1 คน)
- ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง รวมสูงสุดไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท
(การตั้งครรภ์ลูกแฝดจะนับว่าเป็นครรภ์เดียว)
(การตั้งครรภ์ลูกแฝดจะนับว่าเป็นครรภ์เดียว)
ถ้าสามีและภรรยายื่นภาษีทั้งคู่ จะให้สิทธิลดหย่อนนี้แก่ภรรยาเท่านั้น หรือสามีสามารถลดหย่อนภาษีในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้
- ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว และต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ หรือในกรณีที่บุตรอายุเกิน 25 ปี ขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
กรณีมีเฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมายสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรกี่คนก็ได้ตามจำนวนบุตรจริง
กรณีมีเฉพาะบุตรบุญธรรมสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท สูงสุด 3 คน
กรณีมีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม: ให้ใช้สิทธิบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก่อน และหากบุตรบุญธรรมเป็นคนที่ 4 จะไม่สามารถใช้สิทธิได้ แต่ถ้าบุตรบุญธรรมอยู่ในคนที่ 1-3 สามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมได้
- ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน กล่าวคือ สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท (และจะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม) โดยบิดามารดาจะต้องมาอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้อง
- ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ
ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพลภาพเป็นบิดามารดา บุตร หรือคู่สมรสของตนเอง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งสองส่วน ตัวอย่างเช่น คู่สมรสไม่มีรายได้และเป็นผู้พิการ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 120,000 บาท (ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท และค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการ 60,000 บาท)
2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
กลุ่มประกันรวมกันลดหย่อยไม่เกินปีละ 100,000 บาท
- ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์
ไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพ
ไม่เกิน 25,000 บาท
- ประกันสังคม
ไม่เกิน 9,000 บาท
- ประกันสุขภาพของบิดามารดา
ไม่เกิน 15,000 บาท (บิดามารดามีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป)
- เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise
ไม่เกิน 100,000 บาท
กลุ่มประกันรวมกันลดหย่อยไม่เกินปีละ 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)
30% ของเงินได้และไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการออม(SSF)
30% ของเงินได้และไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD)/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
15% ของเงินได้และไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ(กบข.)
30% ของเงินได้และไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.)
ไม่เกิน 30,000 บาท
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ
15% ของเงินได้และไม่เกิน 200,000 บาท
3. การบริจาค
- บริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน
10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
- การศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม ประโยชน์สาธารณะ และรพ.รัฐ
2 เท่าของที่จ่ายจริงไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
- พรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท
4. อื่นๆ
- ช้อปดีมีคืน ไม่เกิน 40,000 บาท
- ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท
ทำประกันเพื่อลดหย่อนภาษี ติดต่อเลย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น